เพลี้ยไก่แจ้ ไก่ฟ้า ศัตรูใบอ่อนทุเรียน
- Kan Wanaphuwadol
- 24 ก.ย. 2564
- ยาว 1 นาที


หลังจากทำใบชุดใหม่กันมาได้สักระยะ ทุเรียนอยู่ในช่วงแตกใบอ่อน ศัตรูตัวฉกาจที่มักจะตามมาก็คือ เพลี้ยไก่แจ้ หรือเพลี้ยไก่ฟ้านั่นเอง โดยที่เพลี้ยเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต และ เล็กผิดปกติ

มาทำความรู้จักเพลี้ยไก่แจ้อย่างใกล้ชิดกัน
ชื่อสามัญ/ชื่อพื้นเมือง : เพลี้ยไก่ฟ้า เพลี้ยไก่แจ้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allocaridara malayensis Crawford.
วงศ์ : Psyllidae
อันดับ : Hemiptera Common name : durian psyllid

รูปร่างลักษณะ
ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ท้าให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้้าตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ3 มิลลิเมตร และมีปุยสีขาว ติดอยู่ตามล้าตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของล้างต้นมีปุยสีขาวคล้ายๆ กับหางไก่แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยมีสีน้้าตาลปนเขียวขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา
ลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้้าเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ท้าให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่ เจริญเติบโต และเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ แห้ง และร่วง นอกจากนี้ยังท้าให้ยอดอ่อนแห้ง และตายได้ โดยตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมาท้าให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่มีสารสีขาวอยู่ ในระยะตัวอ่อนจะเป็น ระยะที่ท้าความเสียหายมากที่สุด


การติดตามสถานการณ์การระบาดเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน และศัตรูธรรมชาติ
สำรวจ 10% ของต้นทั้งหมด ทุก 7 วัน
ตรวจนับ 5 ยอดต่อต้น ทั้งเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนและศัตรูธรรมชาติ
พบเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน มำกกว่ำ 5 ตัวต่อยอด ถือว่ำยอดถูกทำลาย
ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในกำรควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน และปริมาณของยอดที่ถูกเพลี้ย ไก่แจ้ทุเรียนทำลาย
ระดับเศรษฐกิจ
พบเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน มากกว่า 5 ตัวต่อยอด และยอดถูกทำลา มากกว่า 50% ต่อต้น หรือ ยอดที่พบไข่ มากกว่า 20% ต่อต้น ของการแตกใบอ่อนครั้งที่ 1 และ 2
ศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนมีหลายชนิดทั้งแมลงห้้ำได้แก่ ด้วงเต่ำลาย 3 ชนิดในวงศ์ Coccinellidae คือ Menochilus sexmaculatus (Fabricius) Micraspis discolor (Fabicius) และ Coccinella transversalis Fabricius และ แมลงช้้างปีกใสสกุล Chrysopa, Hemerobius และชนิด Ankylopteryx octopuctata sp. สำหรับแมลงเบียนพบแตนเบียนตัวอ่อนเพลี้ยไก่แจ้ในวงศ์ Encyrtidae พบปริมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในสวนที่ใช้สำรเคมีน้อย

วิธีการป้องกันและก้าจัด
ติดตามสถานการณ์เพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติทุกสัปดาห์
อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ตามธรรมชาติได้แก่ แมลงช้างปีกใส แมลงช้างปีกใส แมลงช้างปีกสีน้้าตาล ต่อหลวง ต่อรัง แมงมุม ด้วงเต่า ด้วงเต่าโรโดเลีย ด้วงเต่า
ใช้น้้ำพ่นใบอ่อนที่คลี่แล้วเพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้
กระตุ้นการแตกใบอ่อนให้พร้อมกันทุกต้น เพื่อลดช่วงเวลาการเข้าท้าลายให้สั้นลง โดยใช้ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัมต่อน้้า 20 ลิตร พ่นที่ใบปริมาณ 10 ลิตรต่อต้น
การใช้สารป้องกันกำจัด
แมลงศัตรูพืช | ชื่อสามัญ | |
---|---|---|
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไก่ฟ้า (สามารถใช้กำจัด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ ได้เช่นกัน) | 1 | คาร์โบซัลแฟน, คาร์บาริล, ฟีโนบูคาร์บ, อะซีเฟด, โพรฟิโนฟอส, โอเมทโทเอต |
| 2 | พิโฟนิล |
| 3 | แลมป์ดา ไซฮาโลทริน |
| 4 | อิมิดาคลอพริด, ไทอะมีทอกแซม, ไดโนทีฟูแรน |
| 16 | บูโพรเฟซิน (คุมไข่ รบกวนการลอกคราบ) |
| ชีวภัณฑ์ | เชื้อราบิวเวอร์เรีย, เชื้อราเมตาไรเซียม |
Kommentare